- งานตรวจสอบภายในคืออะไร |
การตรวจสอบภายใน คือ การให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร ช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย |
- ทำไมต้องมีการตรวจสอบภายใน |
เพื่อให้องค์กรมีการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแล อย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ |
- หน่วยงานใดบ้าง ที่เป็นหน่วยรับตรวจของกลุ่มตรวจสอบภายใน |
หน่วยงานส่วนกลางที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค และหน่วยงานส่วนภูมิภาค ได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 – 20 และสำนักงานสหกรณ์จังหวัด 76 จังหวัด |
- วัตถุประสงค์การตรวจสอบภายในคืออะไร |
การปฏิบัติงานโดยอิสระปราศจากการแทรกแซงในการทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กร ด้วยการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ประเมิน ให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะ เพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานทุกระดับขององค์กรให้สามารถปฏิบัติหน้าที่และดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผลการดำเนินงานตรวจสอบภายในจะอยู่ในรูปของรายงานผลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร รวมถึงการสนับสนุนให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพภายใต้ค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม |
- งานตรวจสอบภายใน มีขอบเขตอย่างไร |
1. การสอบทานความเชื่อถือได้และความสมบูรณ์ของสารสนเทศ ด้านการบัญชี การเงินและการดำเนินงาน 2. การสอบทานให้เกิดความมั่นใจว่าระบบที่ใช้เป็นไปตามนโยบาย แผน และวิธีปฏิบัติงานที่องค์กรกำหนดไว้ และควรแสดงผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้น 3. การสอบทานวิธีการป้องกันดูแลทรัพย์สินว่าเหมาะสม และสามารถพิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินเหล่านั้น 4. การประเมินการใช้ทรัพยากรว่าเป็นไปโดยความประหยัดและมีประสิทธิภาพ 5. การสอบทานการปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆ ว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมถึงความคืบหน้าตามแผนงานที่กำหนดไว้ 6. การสอบทานและประเมินผลความเหมาะสมและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในขององค์กร |
- การตรวจสอบภายใน มีกี่ประเภท |
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการตรวจสอบแต่ละระบบงาน หรือแต่ละกิจกรรมจะมีส่วนสำคัญในการกำหนดวิธีการตรวจสอบ และสามารถแยกประเภทของการตรวจสอบภายในที่ใช้กัน โดยทั่วไปเป็น 6 ประเภท ดังนี้ 1. การตรวจสอบทางการเงิน (Financial Auditing) 2. การตรวจสอบการดำเนินงาน (Performance Auditing) 3. การตรวจสอบการบริหาร (Management Auditing) 4. การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Auditing) 5. การตรวจสอบระบบงานสารสนเทศ (Information System Auditing) 6. การตรวจสอบพิเศษ (Special Auditing) |
1. | คำถาม | การจ่ายเงินยืมเพื่อเดินทางไปราชการวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 63 และจัดฝึกอบรม 3-4 ต.ค. 63 สามารถยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการและจัดฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.-4 ต.ค. 63 ได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ เนื่องจาก 1.การยืมเงินเพื่อเดินทางไปราชการในวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค. 63 จะยืมเงินของปีงบประมาณ 2563 2.การยืมเงินเพื่อจัดฝึกอบรมในวันที่ 3-4 ต.ค. 63 นั้นเป็นปีงบประมาณ 2564 ต้องยืมเงินของปีงบประมาณ 2564 ดังนั้นการยืมเงินตั้งแต่ 30 ก.ย.-4 ต.ค. เพื่อการจัดโครงการดังกล่าวนี้จึงไม่สามารถยืมเงินในคราวเดียวกันได้ |
2. | คำถาม | พนักงานราชการสามารถขออนุญาตใช้รถราชการได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ หากเป็นการขอใช้รถเพื่อปฏิบัติงานราชการ |
3. | คำถาม | การเบิกค่าพาหนะที่ไม่ใช่ยานพาหนะประจำทางต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นหรือไม่ |
คำตอบ | ต้องชีแจง ในกรณีที่ไม่มียานพาหนะประจำทางหรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้ใช้ยานพาหนะอื่นได้ แต่ผู้เดินทางจะต้องชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไว้ในหลักฐานการขอเบิกค่าพาหนะ |
4. | คำถาม | ข้าราชการระดับชำนาญการ อยู่จังหวัดปัตตานีเดินทางไปราชการจังหวัดนครปฐม โดยเครื่องบินจากหาดใหญ่ถึงสุวรรณภูมิและโดยรถรับจ้างจากสนามบินสุวรรณภูมิถึงจังหวัด นครปฐมสามารถเบิกค่าเครื่องบินและรถรับจ้างในการเดินทางลักษณะดังกล่าวได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ และให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด ไม่เกินสิทธิที่ผู้เดินทางจะพึงได้รับตามประเภทของพาหนะที่ใช้เดินทาง โดยค่าพาหนะรับจ้างข้ามจังหวัดให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในอัตราครั้งละเกิน 600 บาท |
5. | คำถาม | ส่วนราชการเชิญเจ้าหน้าที่สหกรณ์มาร่วมประชุมกับข้าราชการในจังหวัด สามารถเบิกค่าพาหนะได้หรือไม่ และใช้แบบใบสำคัญรับเงินค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคคลภายนอกเป็นหลักฐานการจ่ายได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกได้ โดยการเบิกค่าพาหนะให้ใช้ใบเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (แบบ 8708) ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน (แบบ 4231) ตามหนังสือกระทรวงการคลัง โดยให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง |
6. | คำถาม | สิทธิการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการเกิดขึ้นเมื่อใด |
คำตอบ | ตั้งแต่ที่ได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการจากผู้มีอำนาจอนุมัติการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางชั่วคราว, การเดินทางประจำหรือการเดินทางกลับภูมิลำเนา |
7. | คำถาม | การนับเวลาเดินทางไปราชการเพื่อคำนวณเบี้ยเลี้ยงเดินทาง นับอย่างไร |
คำตอบ | ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติแล้วแต่กรณี ดังนี้ 1. กรณีที่มีการพักแรมให้นับ 24 ชม.เป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชม. หรือเกิน 24 ชม.และส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน 24 ชม.นั้นนับได้เกิน 12 ชม. ให้ถือเป็น 1 วัน 2. กรณีมิได้มีการพักแรม หากนับได้ไม่ถึง 24 ชม. และส่วนที่ไม่ถึงนับได้เกิน 12 ชม.ให้ถือเป็น 1 วัน หากนับได้ไม่เกิน 12 ชม.แต่เกิน 6 ชม. ให้ถือเป็นครึ่งวัน |
8. | คำถาม | การเบิกเบี้ยเลี้ยงกรณีไปร่วมประชุมราชการต้องหักมื้ออาหารหรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ต้อง เพราะการหักค่าอาหารออกจากเบี้ยเลี้ยงเดินทางจะหักเฉพาะการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมเท่านั้น |
9. | คำถาม | การพักแรมซึ่งโดยปกติต้องพักแรมในยานพาหนะ (เช่น รถไฟ, รถประจำทาง) ผู้เดินทางไปราชการเบิกค่าเช่าที่พักได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ ตาม พ.ร.ก.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 17 ว่าด้วยการเดินทางไปราชการที่จำเป็นต้องพักแรม ให้ยกเว้นการพักแรมซึ่งปกติ ต้องพักในยานพาหนะหรือการพักแรมในที่พกแรมซึ่งทางราชการจัดให้ แสดงว่าการพักแรมในลักษณะดังกล่าวมาสามารถเบิกค่าเช่าที่พักได้ |
10. | คำถาม | เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกอย่างไร |
คำตอบ | เงินชดเชยในการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ เบิกได้ดังนี้ - รถยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 4 บาท - รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล กิโลเมตรละ 2 บาท |
11. | คำถาม | พนักงานราชการใช้รถส่วนตัวที่ไม่ใช่รถของตัวเองเบิกค่าพาหนะได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้โดยเบิกในอัตราชดเชยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ |
12. | คำถาม | การใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ ผู้เดินทางจะต้องดำเนินการอย่างไร |
คำตอบ | ผู้เดินทางต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาดังต่อไปนี้ และต้องใช้พาหนะนั้นตลอดเส้นทางจึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายได้ คือ 1. อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์หรือตำแหน่งเทียบเท่าสำหรับราชการบริหารส่วนกลาง หัวหน้าสำนักงาน สำหรับราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคหรือผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสหกรณ์ซึ่งมีสำนักงานแยกต่างหากจากกระทรวง ทบวง กรม 2. สหกรณ์จังหวัด สำหรับราชการบริหารส่วนภูมิภาค |
13. | คำถาม | ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในกรณีไปประจำสำนักงานซึ่งต่างสังกัด เบิกสังกัดไหน |
คำตอบ | เบิกสังกดใหม่ เช่น เดิมบรรจุกรมส่งเสริมสหกรณ์ต่อมาย้ายไปบรรจุกรมการปกครอง ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำที่กรมการปกครอง |
14. | คำถาม | ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำจากสำนักงานหนึ่งไปยังอีกสำนักงานหนึ่งซึ่งเป็นสังกัดเดียวกัน จะเบิกที่ใด |
คำตอบ | ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำสังกัดเดียวกันจะเบิกจากสำนักงานก็ได้ เช่น เดิมเป็นข้าราชการประจำสำนักงานสหกรณ์จังหวัดระยอง ต่อมาได้ย้ายมาประจำสำนักงานสหกรณ์จังหวดมุกดาหาร ซึ่งถือเป็นสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ทั้ง 2 แห่งผู้มีสิทธิเบิกจะเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดระยอง หรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดมุกดาหารก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้มีสิทธิจะต้องได้รับการอนุมัติให้เดินทางไปราชการประจำโดยผู้มีอำนาจอนุมัติ |
15. | คำถาม | นาย ก และนาย ข ได้รบอนุมัติให้เดินทางไปราชการพร้อมกันนาย ก ขอเบิกค่าที่พักเหมาจ่าย แต่นาย ข พักโรงแรมขอเบิกจ่ายจริงได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ การอนุมัติเดินทางเป็นหมู่คณะต้องเลือกเบิกเหมาจ่ายหรือจ่ายจริงเหมือนกันทั้งคณะ ไม่แยกเบิก และจ่ายจริงต้องพักคู่ ยกเว้น กรณีไม่เหมาะสม หรือมีสิทธิพักเดี่ยว การเดินทางไปราชการในคราวเดียวกันเป็นหมู่คณะทุกคนต้องเลือกเบิกในลักษณะเดียวกัน |
16. | คำถาม | กรณีเดินทางไปราชการ ถ้าสิ้นสุดการปฏิบัติราชการอย่างไรจึงจะเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะถูกต้อง |
คำตอบ | ค่าเบี้ยเลี้ยงให้นับตั้งแต่วันที่ออกเดินทางจนถึงวันสิ้นสุด การลาพักผ่อนมานับรวมเพื่อเบิกเบี้ยเลี้ยงไม่ได้ |
17. | คำถาม | ค่าสมภาระในการเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน และค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่าย Traveloka, Agoda, Booking, Trivago สามารถนำมาเบิกได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกได้ ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดวิธีปฏิบัติและหลักฐานการเบิกจ่ายเงินไว้โดยในการซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินให้ เบิกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าพาหนะรวมถึงค่าสัมภาระ ที่สายการบินเรียกเก็บได้ และในส่วนของค่าเช่าที่พักกรณีติดต่อกับตัวแทนจำหน่ายให้ใช้ใบเสร็จรับเงินของตัวแทนจำหน่าย หรือที่พิมพ์ออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็น หลักฐานเบิกได้ ดังนั้น ค่าสัมภาระในการเดินทางโดยเครื่องบินและค่าเช่าที่พักผ่านตัวแทนจำหน่ายจึงสามารถนำมาเบิกจากทางราชการได้ |
18. | คำถาม | ค่าธรรมเนียมในการคืนบัตร หรือเปลี่ยนบัตรโดยสาร กรณีเจ็บป่วยไม่สามารถเดินทางได้ สามารถนำค่าธรรมเนียมมาเบิกได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกไม่ได้ แต่ผู้เดินทางจะสามารถเบิกค่าธรรมเนียมดังกล่าวได้ในกรณีดังต่อไปนี้ 1. กรณีส่วนราชการสั่งให้งด หรือเลื่อนการเดินทางไปราชการ 2. เหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถเดินทางได้ ทั้งนี้ต้องมิได้เกิดจากผู้เดินทาเป็นเหตุ |
19. | คำถาม | การเบิกค่าขนย้าย จะเบิกได้อย่างไร และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางจากหน่วยงานใด |
คำตอบ | การเบิกค่าขนย้าย ต้องได้รับอนุมัติเดินทางไปราชการ และระยะทางที่เบิกใช้ระยะทางของกรมทางหลวง |
20. | คำถาม | การแข่งขันกีฬากรมส่งเสริมสหกรณ์เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ได้หรือไม่ |
คำตอบ | การแข่งขันกีฬากรมส่งเสริมสหกรณ์ ไม่ถือเป็นการปฏิบัติราชการ เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ได้ |
21. | คำถาม | นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ เบิกค่าเครื่องบิน ได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกได้กรณีมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดี |
22. | คำถาม | การลงลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ในแบบ 8708 ส่วนที่ 2 ลงลายมือ ในกรณีใด |
คำตอบ | การลงลายมือชื่อในแบบ ส่วนที่ 2 ใช้กรณีผู้ยืมเงินราชการ จ่ายเงินยืมให้แก่ผู้เดินทางแต่ละคน |
23. | คำถาม | การเบิกค่าพาหนะส่วนตัวไปราชการ จะต้องทำอย่างไร |
คำตอบ | การเบิกค่าพาหนะส่วนตัวผู้เดินทางจะต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา โดยระบุประเภทและหมายเลขรถ จึงจะมีสิทธิเบิกเงินชดเชยเป็นค่าพาหนะในลักษณะเหมาจ่ายให้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเป็นค่าพาหนะส่วนตัวได้ |
1. | คำถาม | การจัดประชุม มีเวลาการประชุม 9.00 น. - 12.00 น. จะเลี้ยงอาหารกลางวันได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ การเบิกค่าอาหารในการประชุมจะเบิกได้ถ้ามีช่วงระยะเวลาการประชุมคาบเกี่ยวในมื้ออาหารนั้น ดังนั้น หากมีการประชุมถึงเวลาประมาณ 13.30 น. ก็สามารถเบิกอาหารกลางวันได้ |
2. | คำถาม | การจัดอบรมบุคคลภายนอกได้ไปศึกษาดูงานที่สหกรณ์กสิกรรมไรสาร จะพักที่โรงแรมโกลเด้นท์เม้าเทนท์ อัตราค่าที่พักวันละ 750 บาท/คน/วัน เบิกได้หรือไม่ และค่าอาหารเบิกได้ เท่าไร |
คำตอบ | เบิกได้ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การจัดอบรมบุคคลภายนอกเบิก - ค่าที่พัก ตามบัญชี 2 - ค่าอาหาร ตามบัญชี 1 |
3. | คำถาม | ในการจัดอบรมจ่ายค่าพาหนะให้ผู้เข้ารับการอบรมแต่ละคนเท่ากันได้หรือไม่ |
คำตอบ | ค่าพาหนะต้องเบิกจ่ายตามจริง แต่ถ้าวงเงินงบประมาณจํากัด ให้กำหนดว่าให้เบิกค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินงบประมาณ |
4. | คำถาม | ในการจัดอบรมไม่จ่ายค่าพาหนะให้ผู้เขารับการอบรมได้หรือไม่ แต่จะให้เป็นสิ่งของซึ่งโครงการมีค่าใช้จ่ายค่าพาหนะของผู้เข้ารับการอบรม |
คำตอบ | ไม่ได้ เนื่องจาก ในโครงการได้ขออนุมัติจ่ายเป็นค่าพาหนะไว้แล้ว |
5. | คำถาม | ค่าเช่าเหมารถและค่าเช่าห้องประชุมในการจัดฝึกอบรมต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรือไม่ |
คำตอบ | ต้องดำเนินการ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพราะค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องดำเนินการตามระเบียบ ฯ คือ ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร และค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม เท่านั้น |
6. | คำถาม | โครงการพระราชดำริพานักเรียนศึกษาดูงานโดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้ (1) เบิกค่าผ่านประตูได้หรือไม่ (2) จ่ายค่าวิทยากรให้หน่วยงานที่ไปดูงานได้หรือไม่ |
คำตอบ | (1) ไม่ได้ ค่าผ่านประตูไม่อยู่ในรายการที่กำหนดให้เบิกได้ อย่างไรก็ตามหากจะเบิกค่าผ่านประตูดังกล่าว ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง (2) ไม่ได้ การไปศึกษาดูงานสามารถเบิกเป็นค่าของสมนาคุณในการดูงานได้ |
7. | คำถาม | จัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ ผักปลอดภัยในสหกรณ์ ปี 2562 โครงการแบ่งเป็น 3 กิจกรรม (1) อบรมให้ความรู้ (2) ศึกษาดูงาน (3) จัดทำเอกสารเผยแพร่ และประชาสมพันธ์กิจกรรมส่งเสริมการขาย ในกิจกรรมที่ 3 มีการจ้างพิมพ์สติ๊กเกอร์ จำนวน 8,000 ดวง จำนวนเงิน 5,600 บาท เพื่อให้กบสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร สำหรับใช้ติดบรรจุภัณฑ์ เพื่อจำหน่าย ค่าพิมพ์สติ๊กเกอร์ดังกล่าว เบิกได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ ถ้าการพิมพ์สติ๊กเกอร์นั้นเป็นกิจกรรมส่งเสริมการขาย และเป็นภารกิจหรือนโยบายของกรม ฯ จึงจะเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดงานอยู่ในดุลพินิจหัวหน้าส่วนราชการที่จะพิจารณาให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด |
8. | คำถาม | การจัดโครงการฝึกอบรม เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบมาเป็นวิทยากรจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากร ตามอัตราบุคคลภายนอกหรือบุคลากรของรัฐ |
คำตอบ | เบิกจ่ายตามอัตราบุคลากรของรัฐ เนื่องจากมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบยังอยู่ในกำกับของรัฐยังรับเงินอุดหนุนจากรัฐ |
9. | คำถาม | การจัดโครงการฝึกอบรมบุคคลภายนอก ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยส่วนราชการ จะจ่ายค่าพาหนะเหมาจ่ายให้กับสมาชิกสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร จำนวนคนละ 200 บาทและจ่ายค่าวิทยากรเป็นการเหมาจ่าย จำนวน 20,000 บาท โดยในใบสำคัญรับเงินระบุว่าจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรเหมาจ่าย จำนวนเงิน 20,000 บาท ไม่ระบุรายละเอียดว่ามีวิทยากรจำนวนกี่คน จัดบรรยายเป็นเวลากี่ชั่วโมง (1) สามารถเบิกค่าพาหนะเหมาจ่ายได้หรือไม่ (2) การเบิกจ่ายค่าสมนาคุณวิทยากรในอัตราเหมาจ่าย 20,000 บาท สามารถเบิกจ่าย ได้หรือไม่ |
คำตอบ | การจัดโครงการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นประเภทบุคคลภายนอก (1) ไม่ได้ ค่าพาหนะบุคคลภายนอกให้เบิกจ่ายจริงตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน จึงเบิกเหมาจ่ายไม่ได้ (2) ไม่ได้ ค่าวิทยากรเบิกเหมาจ่ายไม่ได้ จะต้องระบุรายละเอียดว่ามีวิทยากรจำนวนกี่คน จัดบรรยายเป็นเวลากี่ชั่วโมง และอัตราค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละเท่าไร |
10. | คำถาม | เจ้าหน้าที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ก ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัด ข ซึ่งเป็นผู้จัดโครงการ และโครงการจ่ายค่าสมนาคุณให้วิทยากรแต่ไม่ได้จัดที่พักให้ กรณีที่โครงการไม่ได้จัดที่พักให้วิทยากร สามารถเบิกค่าเช่าที่พักเหมาจ่ายที่ต้นสังกัดได้หรือไม่ และสามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง ได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกค่าที่พักเหมาจ่ายไม่ได้ เนื่องจากโครงการไม่ได้จัดที่พักให้ ค่าเช่าที่พักจึงต้องไปเบิกจ่ายจากต้นสังกัด โดยให้เบิกตามพระราชกฤษฎีกาเดินทางไปราชการ ซึ่งเบิกจ่ายค่าเช่าที่พักได้เท่าที่จ่ายจริง (ต้องมีใบเสร็จรับเงิน) - เบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้ ให้นับตั้งแต่เวลาที่เดินทางออกจากสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติจนกลับถึงสถานที่อยู่หรือสถานที่ปฏิบัติราชการตามปกติแล้วแต่กรณีโดยให้นับ 24 ชั่วโมงเป็น 1 วัน ถ้าไม่ถึง 24 ชั่วโมงหรือเกิน 24 ชั่วโมง และส่วนที่ไม่ถึง 24 ชั่วโมงหรือเกิน 24 ชั่วโมงนั้น เกินกว่า 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วัน แล้วนำจำนวนวันทั้งหมดมาคูณกับอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ในกรณีที่ผู้จัดการฝึกอบรมจัดอาหารบางมื้อในระหว่างการฝึกอบรม ให้หักเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่คำนวณได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางต่อวัน |
11. | คำถาม | ในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่สำนักงานสหกรณ์จังหวดให้เจ้าพนักงานบันทึกข้อมูลมาช่วยปฏิบัติงานในโครงการ จะให้ลงลายมือชื่อเป็นเจ้าหน้าที่โครงการได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ หากตามขอเท็จจริงได้มาช่วยปฏิบัติงานในโครงการจริงก็สามารถทำได้ แต่ต้องได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่โครงการดังกล่าวจากหัวหน้าส่วนราชการ |
12. | คำถาม | กรณีเดินทางเข้ารับการฝึกอบรม ณ กทม.วันที่ 1–3 ส.ค. 62 และ 4 ส.ค. 62 ไปติดต่อประสานงานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ค่าที่พักวันที่ 3 ส.ค. 62 เบิกเหมาจ่าย หรือ เบิกจ่ายจริง |
คำตอบ | ค่าที่พักในคืนวันที่ 3 ให้เบิกเหมาจ่ายหรือจ่ายจริงก็ได้เนื่องจากเป็นการพักเพื่อรอติดต่อราชการ |
13. | คำถาม | กรณีเดินทางเพื่อติดต่อประสานงานกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ วันที่ 1 ส.ค. 62 และเข้ารับการฝึกอบรมวันที่2– 3ส.ค.62ค่าที่พักวันที่1เบิกเหมาจ่ายหรือเบิกจ่ายจริง |
คำตอบ | ค่าที่พักในคืนวนที่ 1 ให้เบิกจ่ายจริง เนื่องจากเป็นการพักเพื่อรอเข้ารับการอบรม |
14. | คำถาม | การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง กรณีเดินทางมาเข้าอบรมนับเวลาเดินทางก่อนอบรมและหลังอบรม อย่างไร |
คำตอบ | การนับเวลาเดินทางเพื่อเข้ารับการอบรม ให้นับตั้งแต่เวลาออกจากบ้านพัก จนกลับถึงบ้านพักและหักด้วยมื้ออาหารระหว่างการฝึกอบรมที่ทางโครงการจัดให้ |
15. | คำถาม | เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวดเป็นวิทยากรในโครงการที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดจัดจะเบิกค่าวิทยากรได้หรือไม่ อย่างไร |
คำตอบ | ได้ การฝึกอบรมประเภทกเบิกค่าวิทยากรได้ชั่วโมงละ800บาทการฝึกอบรมประเภท ข เบิกค่าวิทยากรได้ ชั่วโมงละ 600 บาท |
16. | คำถาม | การประชุมคณะกรรมการ เวลา 15.00 – 16.30 น. ผู้จัดประชุมขออนุมัติเลี้ยง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มได้หรือไม่เนื่องจากประชุมเพียง1.30ชม. |
คำตอบ | ได้ เนื่องจากระเบียบไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาในการจัดประชุม |
17. | คำถาม | จัดโครงการอบรมซึ่งได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ผู้จัดโครงการได้สำรองจ่าย และนำหลักฐานมาเบิกได้หรือไม่ |
คำตอบ | โดยปกติให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณ ในกรณีที่ต้องทดรองจ่ายเพื่อปฏิบัติราชการให้จ่ายจากเงินทดรองราชการที่ส่วนราชการนั้นมีไว้ใช้จ่ายเพื่อความคล่องตัว |
18. | คำถาม | เชิญข้าราชการบำนาญมาเป็นวิทยากร จ่ายค่าวิทยากรได้ในอัตราเท่าใด |
คำตอบ | ข้าราชการบำนาญ ถือว่ามิใช่บุคลากรภาครัฐ หากเชิญมาเป็นวิทยากรให้ถือเป็นบุคคลภายนอก ใหใช้อัตราค่าสมนาคุณวิทยากรที่มิใช่บุคลากรของรัฐ |
19. | คำถาม | กรณียืมเงินเพื่อจ่ายเป็นค่าอาหาร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ในการจัดอบรมใช้ใบสำคัญรับเงินของผู้รับจ้างเป็นหลักฐานการจ่ายได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ กรณีจ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงิน จากผู้รับเงินได้ ให้ผู้จ่ายเงินนั้นทำใบรับรองการจ่ายเงินเพื่อนำมาเป็นเอกสารประกอบการขอเบิกเงินต่อส่วนราชการ |
20. | คำถาม | การจัดอบรมโครงการประเภทบุคคลภายนอก จะเบิกค่าพาหนะเครื่องบินให้กับวิทยากรได้หรือไม่ หากในโครงการมีการจัดหรือรับผิดชอบค่าพาหนะ ให้ผู้เข้ารับการ อบรมแล้ว |
คำตอบ | เบิกไม่ได้ การเบิกค่าพาหนะ ให้วิทยากรสามารถเบิกได้ตามระดับของการฝึกอบรมซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าว เป็นการฝึกอบรมประเภทบุคคลภายนอกให้จัดยานพาหนะตามสิทธิของข้าราชการตำแหน่งประเภททั่วไประดับปฏิบัติงาน โดยให้เบิกจ่ายค่าพาหนะได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด | |
21. | คำถาม | กรณีข้าราชการได้รับอนุมัติให้เข้าอบรม สัมมนาโครงการหนึ่ง ผู้จัดไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยให้ผู้เขาอบรมเบิกจากต้นสังกัด ถามว่า ค่าเช่าที่พักจะต้องเบิกใน ลักษณะเหมาจ่ายหรือใช้ใบเสร็จตามระเบียบฝึกอบรม |
คำตอบ | ต้องเบิกในลักษณะจ่ายจริง ไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในระเบียบฝึกอบรม โดยต้องมีใบเสร็จค่าที่พกั และใบแสดงรายละเอียดการเข้าพัก (Folio)แนบเป็นหลักฐานการจ่ายด้วย |
22. | คำถาม | เจ้าหน้าที่ของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์เป็นวิทยากรในโครงการที่ศูนย์ฯจัดจะเบิกค่าวิทยากรได้หรือไม่ อย่างไร |
คำตอบ | ได้ การฝึกอบรมประเภท ก เบิกค่าวิทยากรได้ ชั่วโมงละ 400 บาท การฝึกอบรมประเภท ข เบิกค่าวิทยากรได้ ชั่วโมงละ 300 บาท |
23. | คำถาม | กรณีจัดโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัดที่พักหรือออกค่าเช่าที่พักให้บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบ ฯ จะเลือกเบิกประเภท ก และ ประเภท ข ใหแต่ละระดับเลยหรือไม่ หรือต้องเบิกอัตราเดียวกัน |
คำตอบ | กรณีจัดโครงการหรือหลักสูตรการฝึกอบรมที่มีการจัดที่พักหรือออกค่าเช่าที่พักให้บุคคลที่จะเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมตามระเบียบ ฯ จะเลือกเบิกประเภท ก และประเภท ข ใหแต่ละระดับเลยหรือไม่ หรือต้องเบิกอัตราเดียวกัน |
24. | คำถาม | การจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอกเบิกค่าวิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐ ชั่วโมงละ 1,200 บาท ได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ กรณีจัดฝึกอบรมบุคคลภายนอก วิทยากรที่เป็นบุคลากรของรัฐไม่ว่าจะสังกัดส่วนราชการที่จัดฝึกอบรม หรือไม่ก็ตามให้ได้รบค่าสมนาคุณวิทยากรไม่เกิน ชั่วโมงละ 600 บาท |
25. | คำถาม | เบิกค่ากระเช้าให้ประธานพิธีเปิดได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่สามารถเบิกได้เนื่องจากไม่ได้เป็นค่าใช้จ่าย |
26. | คำถาม | ค่าพาหนะวิทยากร เบิกเหมาจ่ายได้หรือไม่ |
คำตอบ | กรณีส่วนราชการไม่ได้จัดพาหนะ แต่จ่ายค่าพาหนะ ให้ปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติมวิทยากรสามารถเบิกค่าเหมาจ่ายได้ในกรณีเบิกค่าพาหนะส่วนตัว |
1. | คำถาม | กรณีเคยงดเบิกค่าเช่าบ้านเนื่องจากย้ายไปอยู่อาศัยบ้านญาติซึ่งไม่ต้องเสียค่าเช่าบ้านเป็นเวลาปีกว่า ต่อมาญาติมีความจำเป็นแจ้งให้ย้ายออก จึงไปเช่าบ้านอยู่ กรณีนี้ สิทธิจะหมดไปหรือไม่ และจะสามารถขอเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ หากเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก็สามารถใช้สิทธิได้และกรณีที่ไม่ได้ใช้สิทธิเบิก ก็ไม่ทำให้สิทธินั้นหมดไป |
2. | คำถาม | กรณีข้าราชการได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการให้เช่าบ้านเพื่อพักอาศัยเนื่องจากไม่มีบ้านพักของทางราชการจัดให้ ข้าราชการผู้นั้นได้เช่าบ้านในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 และได้จัดทำเอกสารขออนุมัติเบิกค่าเช่าบ้าน ซึ่งได้แนบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจ สภาพบ้านเช่าลงวันที่10กนยายน2562อยากทราบว่าคำสั่งดังกล่าวใช้ประกอบการ เบิกจ่ายได้หรือไม่กรณีไม่ได้ควรจะดำเนินการอย่างไรและถ้าได้จะสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562 หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ กรณีดังกล่าวสามารถเบิกจ่ายได้ ตั้งแต่วันที่ข้าราชการได้เช่าและอาศัยจริงในบ้านหลังดังกล่าวตามมาตรา 14 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม |
3. | คำถาม | นายตองหนึ่ง ย้ายมาปฏิบัติราชการที่อำเภอสามชุก และมีบ้านที่อำเภอสามชุก มีภาระผูกพันกับสถาบันการเงินแต่ไม่ได้อยู่บ้านตนเอง โดยไม่ได้แจ้งเหตุผล แต่มีความประสงค์ที่จะยื่นเรื่องขอรับสิทธิค่าเช่าบ้านซึ่งมีสัญญาเช่าจริง อยากทราบว่า นายตองหนึ่งสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ และหากจะทำเรื่องผ่อนชำระกับธนาคารจะใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | แล้วแต่กรณี ตามระเบียบข้าราชการใช้สิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านหรือการผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านมาเบิกจะต้องอาศัยอยู่จริงในบ้านหลังที่ใช้สิทธิเบิกภายใต้หลักเกณฑ์ มาตรา 7 ประกอบมาตรา 14 หรือมาตรา 17 |
4. | คำถาม | นาย ก.มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านตามมาตรา7และได้ใช้สิทธิเบิกมาโดยตลอดต่อมาได้สมรสและประสงค์จะทำบ้านที่ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านมาประกอบกิจการร้านค้า โดยยังคงใช้ สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านอยู่อยากทราบว่า กรณีนี้จะยังสามารถใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหลัง ดังกล่าวได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ เมื่อเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 หากได้เช่าและอาศัยอยู่จริงในบ้านหลังดังกล่าวก็สามารถนำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ |
5. | คำถาม | กรณีข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้าน ต่อมาเกิดปัญหาน้ำท่วมบ้านข้าราชการผู้นั้นไม่ได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกับธนาคาร ยินยอมให้ธนาคารยึดบ้านโดยกรรมสิทธิ์ของบ้านตกเป็นของธนาคาร จึงได้หาซื้อบ้านหลังใหม่ที่คาดว่าน้ำไม่ท่วมในท้องที่เดียวกัน กรณีนี้ข้าราชการผู้นั้นจะสามารถใช้สิทธิในการเบิกค่าเช่าซื้อบ้านหลังใหม่ได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ การเบิกค่าเช่าบ้านกรณีผ่อนชำระเงินกู้เป็นนิติกรรมที่เป็นการกู้ยืมเงินจากธนาคารมาจ่ายให้กับผู้ขายและผู้ซื้อย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้านที่ซื้อขาย เมื่อต่อมาปล่อยให้ธนาคารยึดไปถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไปตามมาตรา 17 วรรค 2 ประกอบมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านจากทางราชการ |
6. | คำถาม | กรณีข้าราชการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านที่จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาถูกย้ายมารับราชการที่กรุงเทพฯ จึงได้ขายบ้านที่สมุทรปราการ กรณีนี้ข้าราชการผู้นั้นจะสามารถใช้สิทธิ เบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ กรณีการขายบ้านนอกท้องที่ที่ปฏิบัติราชการประจำ ไม่มีผลทำให้สิทธิเสียไป ดังนั้น เมื่อการรับราชการที่กรุงเทพฯ จึงไม่ติดข้อต้องห้ามใด ๆ ก็ย่อมใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ |
7. | คำถาม | กรณีข้าราชการใช้สิทธิเช่าซื้อบ้านในจังหวัดหนึ่งแล้ว ต่อมาได้ย้ายไปรับราชการอีกจังหวัดหนึ่งหากต้องการซื้อบ้านในที่แห่งใหม่จะสามารถใช้สิทธิเช่าซื้อบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ สามารถใช้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านหลังใหม่ได้ เพราะเป็นคนละท้องที่กัน จึงไม่นับว่าบ้านหลังที่เคยใช้สิทธิเป็นบ้านหลักแรกในท้องที่ใหม่ตามมาตรา 17 |
8. | คำถาม | กรณีกู้เงินเพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดินจากธนาคารสูงกว่าวงเงินที่ทำตามสัญญาซื้อขายกับสำนักงานที่ดินกรณีเช่นนี้จะสามารถเบิกจ่ายได้ในวงเงินใด |
คำตอบ | เบิกจ่ายได้ ตามวงเงินที่ทำสัญญาซื้อขายกับสำนักงานที่ดินเท่านั้น โดยการใช้สิทธิต้องขอความร่วมมือกับธนาคารให้คำนวณว่า หากมีการกู้ตามวงเงินที่ทำสัญญาซื้อขายจะต้องผ่อนชำระเดือนละเท่าไรมาประกอบการเบิกจ่ายด้วย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการพ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 7 |
9. | คำถาม | นาย ก. รบราชการที่อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาส่วนราชการมีคำสั่งให้ นาย ก.ไปปฏิบัติราชการที่อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรีเป็นระยะเวลา9เดือนนาย ก.จะมี สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ ข้าราชการจะมีสิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้านจะต้องเป็นข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำสำนักงานในต่างท้องที่ในลักษณะประจำหรือได้รับคำสั่งให้ ไปช่วยราชการประจำ ซึ่งต้องมีระยะเวลาเกิน 1 ปี ดังนั้นในการเดินทางไปประจำสำนักงานใหม่ของ นาย ก. ที่ได้ย้ายไปอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีเพียง 9 เดือน ซึ่งไม่เข้าข่ายการปฏิบัติงานราชการประจำ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน |
10. | คำถาม | นาย ข. รบราชการที่อำเภอตาคลีจังหวัดนครสวรรค์ ต่อมาส่วนราชการมีคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะมีคำสั่ง เปลี่ยนแปลง นาย ข. จะมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ นาย ข. ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติราชการโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงซึ่งถือว่าเป็นการไปปฏิบัติราชการในลักษณะประจำ และหากนาย ข. ไม่เข้าข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่มีมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 (1) - (3) ย่อมมีสิทธิเบิกค่าเช่า บ้านได้ |
11. | คำถาม | นาย ก. รบราชการที่กรุงเทพมหานคร ได้รับคำสั่งใหเดินทางไปปฏิบัติราชการประจำที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งในเขตท้องที่อำเภอดังกล่าวคู่สมรสของ นาย ก. มีบ้านที่มีกรรมสิทธิ์อยู่โดยไม่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน |
คำตอบ | ไม่ได้ กรณีนี้ นาย ก. ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่หากนาย ก. ได้รับคำสั่งให้เดินทางไปปฏิบัติราชการประจำที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม และในเขตท้องที่อำเภอดังกล่าวคู่สมรสของ นาย ก. มีบ้านที่มีกรรมสิทธิ์โดยมีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน และไม่เข้า ข่ายข้อห้ามมาตรา 7 (1) - (3) นาย ก. ย่อมมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน |
12. | คำถาม | การขอใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านกรณีมีบ้านเป็นของตนเองโดยมีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน แต่เอกสารที่นำมาประกอบการเบิกเป็นสัญญาการต่อเติมบ้านไม่ใช่สัญญาซื้อขาย หรือสร้างบ้าน จะสามารถใช้สิทธิในการขอเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ กรณีดังกล่าวไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ เนื่องจากสัญญากู้เพื่อต่อเติมบ้านมิใช่เป็นการชำระราคาบ้านแต่อย่างใด ซึ่งสัญญากู้เพื่อต่อเติมเป็นสัญญาทำขึ้นภายหลังจากมี เคหสถานตามสัญญาแรกอยู่ก่อนแล้ว |
13. | คำถาม | กรณีใช้สิทธิเช่าซื้อบ้านอยู่ ต่อมาหน่วยงานได้มีการสร้างบ้านพักของทางราชการและจัดให้เข้าพักในบ้านพักของราชการ สิทธิการเช่าซื้อจะหมดไปหรือไม่ |
คำตอบ | ไม่มีสิทธิ เบิกค่าเช่าซื้อ เนื่องจากข้าราชการย่อมถูกจัดเขาบ้านพักได้ |
14. | คำถาม | กรณีมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านโดยเช่าบ้านอยู่แล้ว นำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านข้าราชการในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้หรือไม่ |
คำตอบ | ได้ ข้าราชการผู้ใดมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านอยู่แล้ว ต่อมาได้ย้ายไปประจำในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน หากคู่สมรสหรือบุตรซึ่งอยู่ในอุปการะของข้าราชการผู้นั้นไม่อาจ ติดตามข้าราชการผู้นั้นไปได้ และบุคคลดังกล่าวมีความจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านใน ท้องที่เดิมต่อไปให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกค่าเช่าบ้านในท้องที่ใหม่ได้ |
15. | คำถาม | กรณีได้เลื่อนขั้นเงินเดือน เดือนเมษายน 2562 โดยมีคำสั่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม2562 ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่ เมษายน 2562 ทำให้ได้รับค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านฯ จึงได้สอบถามการเงินของหน่วยงานที่สังกัด เพื่อขอเบิกค่าเช่าบ้านย้อนหลังในส่วนที่มีสิทธิเพิ่มขึ้นซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่าไม่สามารถเบิกค่าเช่าบ้านย้อนหลังเกินปีงบประมาณได้ โดยสามารถให้เบิกย้อนหลงได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 กรณีเช่นนี้จะสามารถเบิกค่าเช่าบ้านส่วนที่มีสิทธิเพิ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อไรและมีแนวปฏิบัติอ้างอิงหรือไม่ |
คำตอบ | ได้ สามารถขอเบิกค่าเช่าบ้านส่วนต่างที่ยังขาดอยู่ได้ กรณีดังกล่าวสามารถเบิกค่าเช่าบ้านย้อนหลังได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 12 |
16. | คำถาม | ข้าราชการ เดินทางทางไปราชการประจำ มีเคหสถานอยู่ในท้องที่ไปราชการประจำโดยมีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน เบิกได้หรือไม่ |
คำตอบ | เบิกได้เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ |
17. | คำถาม | ข้าราชการ เดินทางมารายงานตัว 27 ม.ค. 63 เบิกค่าเช่าซื้อต่อเนื่องอย่างไร |
คำตอบ | ให้นำหลักฐานค่าผ่อนชำระเงินเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านในท้องที่เดิมมาเบิกต่อเนื่องในท้องที่ใหม่ แต่ไม่ก่อนวันที่รายงานตัวเพื่อรับหน้าที่ |
18. | คำถาม | คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการเบิกค่าเช่าบ้านย้ายไปจังหวัดอื่น 1 คน สามารถให้คณะกรรมการที่เหลือตรวจสอบข้อเท็จจริงได้หรือไม่ |
คำตอบ | แต่งตั้งกรรมการเพิ่มโดย แต่งตั้งข้าราชการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2549 และที่แก้ไขเพิ่มเติม | |
19. | คำถาม | หลักฐานซื้อบ้านพร้อมที่ดินและหลักฐานการชำระเงิน มีชื่อผู้สมรสนำมาเบิกค่าเช่าบ้านได้หรือไม่ |
คำตอบ | ต้องเป็นการซื้อบ้านพร้อมที่ดินระหว่างสมรสหลักฐานการชำระเงิน มีชื่อผู้สมรสนำมาเบิกค่าเช่าบ้านได้ |
20. | คำถาม | กรณี นาย ก. เป็นข้าราชการ มีสิทธิได้รบค่าเช่าบ้านข้าราชการในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ ต่อมาได้แต่งการกับนางสาว ข. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน และนางสาว ข.มีบ้านที่ติดภาระผูกพันกับธนาคารอยู่ในพื้นที่เช่นกัน ถามว่า นาย ก. จะสามารถเช่าซื้อบ้านของ นางสาว ข. ที่ติดภาระผูกพันกับธนาคารหรือไม่ |
คำตอบ | ไม่ได้ เนื่องจาก บ้านหลังดังกล่าวถือเป็นบ้านหลังแรกของตนเองหรือคู่สมรส แม้คู่สมรสจะได้มาก่อนสมรส แต่ยังมีภาระผูกพันอยู่ จากกรณีดังกล่าว สิทธิในการเบิกค่าเช่า ซื้อของนาย ก จะหมดไป แต่สิทธิในการเบิกค่าเช่าบ้าน กรณีเช่าบ้านยังคงอยู่ จึงสามารถเบิกค่าเช่าบ้านได้ |
กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมส่งเสริมสหกรณ์
อาคาร 1 ชั้น 6 เลขที่ 12 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์. 0-2281-0110 E-mail.
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2565 กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมส่งเสริมสหกรณ์
Copyright © 2022 Internal Audit Group of CPD
ภาพและวิดีโอจาก canva.com, freepik.com, pixabay.com, flaticon.com